สถิติ
เปิดเมื่อ24/09/2013
อัพเดท12/02/2014
ผู้เข้าชม10142
แสดงหน้า16552
ปฎิทิน
May 2024
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
   
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 




บทความ

การฝึกและอบรมพนักงานรักษาความปลอดภัย
การฝึกและอบรมพนักงานรักษาความปลอดภัย
 หลักการทั่วไป
    ให้ยึดถือหลักการทั่วไปในการรักษาความปลอดภัยตามแนวทางต่อไปนี้
2.1     ในการรักษาความปลอดภัย  จะกำหนดมาตรการป้องกันแต่พียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ  ควรกำหนดมาตรการอย่างอื่นควบคู่กันไปด้วย
2.2     การรักษาความปลอดภัยที่ดีนั้นจะต้องมีจุดอ่อนน้อยที่สุด
2.3     จะต้องมีการสอดส่องและตรวจสอบมาตรการที่วางไว้เป็นประจำ
2.4     มาตรการและวิธีการรักษาความปลอดภัยที่ดี  จะต้องสอดคล้องและไม่เป็นอุปสรรคต่อการบริการงานของหน่วย
 ประเภทและความรับผิดชอบเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัย
     การรักษาความปลอดภัยแบ่งออกเป็น  3  ประเภท  คือ
            1   การรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับ  บุคคล
            2   การรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับ  เอกสาร
            3   การรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับ  สถานที่
  การรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับบุคคล
   1.  ความมุ่งหมาย
    การรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับบุคคลกำหนดขึ้นด้วยความมุ่งหมาย  เพื่อเลือกเฟ้นตรวจสอบ
    ให้ได้บุคคลที่มีลักษณะเหมาะสมแก่การบรรจุเข้าเป็นพนักงาน  หรือให้ปฏิบัติหน้าที่
  2.  ข้อพิจารณาในการรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับบุคคล
2.1     การตรวจสอบบุคคลเพื่อบรรจุเข้าเป็นพนักงาน
2.2     การอบรมเรื่องการรักษาความปลอดภัย
  3.  หลักการตรวจสอบประวัติและพฤติการณ์บุคคล
                3.1  การตรวจสอบประวัติและพฤติการณ์บุคคล  มีวัตถุประสงค์เพื่อหาคุณลักษณะดังต่อไปนี้
                3.1.1  มีคุณสมบัติครบถ้วนตามกฎหมาย  ข้อบังคับ  หรือระเบียบว่าด้วยการบรรจุ เข้าเป็นพนักงาน
                3.1.2   ต้องไม่มีพฤติการณ์ที่ขัดต่อระบบการรักษาความปลอดภัย
                3.1.3  มีความซื่อสัตย์สุจริตและเป็นที่ไว้วางใจในความจงรักภักดีต่อหน่วยงาน
                3.1.4  มีคุณลักษณะ  เช่น  อุปนิสัย  ความสุขุมรอบคอบ
  4.  กรรมวิธีในการตรวจสอบประวัติและพฤติการณ์บุคคล
4.1     ขอให้กรมตำรวจตรวจสอบพิมพ์ลายนิ้วมือและประวัติอาชญากรรม
4.2     ทำบันทึกประวัติในแบบประวัติบุคคล
 
 
 
 
 การปฏิบัติเมื่อเกิดการละเมิดการรักษาความปลอดภัย
  1.  คำจำกัดความ
  การละเมิดการรักษาความปลอดภัย   คือ การกระทำใด ๆ  จะโดยเจตนาหรือไม่ก็ตามที่ฝ่าฝืน
  หรือละเลยไม่ปฏิบัติตามมาตรการ  การรักษาความปลอดภัยที่กำหนดไว้
  2.  ความมุ่งหมาย
  เพื่อลดความเสียหายให้เหลือที่น้อยที่สุด และป้องกันมิให้เกิดการละเมิดการรักษาความปลอดภัย
  ซ้ำอีกตลอดค้นหาข้อบกพร่อง  สาเหตุผลเสียหาย  เพื่อนำมาวิเคราะห์วิจัยในการปรับปรุงแก้ไขมาตรการรักษาความปลอดภัยให้รัดกุมยิ่งขึ้น
  3.  สาเหตุแห่งการละเมิดการรักษาความปลอดภัย
  การละเมิดการรักษาความปลอดภัยอันเป็นเหตุให้  วัสดุหรือสถานที่ต้องถูกทำลายหรือเสียหาย  เกิดจากสาเหตุสำคัญ 2 ประการ  คือ
  3.1  การขาดจิตสำนึกและขาดวินัยในการรักษาความปลอดภัย  ความประมาทเลินเล่อ  ความไม่รอบคอบ  ความเกียจคร้านและย่อหย่อนต่อหน้าที่  รวมทั้งความรู้เท่าไม่ถึงการณ์  หรือความเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว
  3.2   การโจรกรรมและการก่อวินาศกรรม
  4.  การปฏิบัติเมื่อปรากฏการละเมิดการรักษาความปลอดภัย
  4.1   ผู้ใดพบเห็นหรือทราบว่ามีการละเมิดหรือสงสัยว่าจะมีการละเมิดการรักษาความปลอดภัยเกิดขึ้น  จะต้องรีบรายงานให้เจ้าหน้าที่ควบคุมการรักษาความปลอดภัยหรือเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบทราบโดยเร็วที่สุด 
  4.2   ในเวลาเดียวกัน  เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องต้องรีบดำเนินการเบื้องต้น  เพื่อลดความเสียหายให้เหลือน้อยที่สุด  และป้องกันมิให้การละเมิดการรักษาความปลอดอุบัติซ้ำอีก
  4.3  เจ้าหน้าที่ควบคุมการรักษาความปลอดภัย  หรือเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบ  จะต้องรีบดำเนินการ  ดังนี้  คือ
  4.3.1 สำรวจและตรวจสอบความเสียหายอันเกิดจากการละเมิดการรักษาความปลอดภัย
  4.3.2  ดำเนินการเพื่อลดความเสียหายให้เหลือน้อยที่สุด
  4.3.3  สำรวจ  ตรวจสอบและค้นหาสาเหตุแห่งการละเมิดการรักษาความปลอดภัย  ตลอดจนจุดอ่อนและข้อบกพร่องต่าง ๆ
  4.3.4  ดำเนินการแก้ไขมาตรการการรักษาความปลอดภัยให้รัดกุมยิ่งขึ้น  เพื่อป้องกันมิให้การละเมิดการรักษาความปลอดภัยเกิดขึ้นอีก
  5.  ความรับผิดชอบของผู้บังคับบัญชา
  5.1    สอบสวนเพื่อให้ทราบว่าใครเป็นผู้ละเมิดและผู้รับผิดชอบต่อการละเมิดนั้น
  5.2    พิจารณาแก้ไขข้อบกพร่อง  และป้องกันมิให้เหตุการณ์เช่นนั้นอุบัติซ้ำอีก
  5.3    พิจารณาลงโทษบุคคลผู้ละเมิดและผู้รับผิดชอบต่อการละเมิดนั้น
  การรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับเอกสาร
                         ฯ   ล   ฯ
  การรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับสถานที่
  1.  คำจำกัดความ
  การรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับสถานที่  คือ  มาตรการที่กำหนดขึ้น  เพื่อพิทักษ์รักษาให้ความปลอดภัยแก่ที่สงวน  อาคารและสถานที่  ตลอดจนวัสดุ  อุปกรณ์  เจ้าหน้าที่และเอกสารในอาคารสถานที่ดังกล่าว  ให้พ้นจากการโจรกรรม  การก่อวินาศกรรม  หรือเหตุอื่นใดอาจจะทำให้เสียสมรรถภาพในการปฏิบัติภารกิจของหน่วยงานนั้น ๆ
  2.  มาตรการรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับสถานที่
   ให้หน่วยงานจัดให้มีการปรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับสถานที่ให้เหมาะสม  โดยพิจารณาใช้มาตรการ  ดังต่อไปนี้
  2.1  เครื่องกีดขวาง
 เครื่องกีดขวาง  คือ  เครื่องมือที่ใช้ป้องกัน  ขัดขวาง  หรือหน่วงเหนี่ยวบุคคล  สัตว์  หรือ ยานพาหนะ  ที่ไม่มีสิทธิ์เข้าไปในพื้นที่รักษาความปลอดภัย
 
 เครื่องกีดขวางแบ่งออกเป็น  2  ชนิด  คือ
  2.1.1  เครื่องกีดขวางธรรมชาติ  เช่น  ทะเล  แม่น้ำ  ลำคลอง  ฯลฯ 
  2.1.2  เครื่องกีดขวางที่ประดิษฐ์ขึ้น  เช่น  รั้วลวดหนาม เครื่องกั้นถนน กำแพง ลูกกรงเหล็ก ฯลฯ
  2.2  การให้แสงสว่าง
   การให้แสงสว่างมี  2  วิธี  คือ
  2.2.1     การใช้แสงสว่างโดยตรง  คือ การพุ่งแสงสว่างส่องไปยังจุดใดจุดหนึ่ง  ที่ต้องการ  เช่น  ตัวอาคาร  รั้ว  หรือประตู  เป็นต้น
  2.2.2     การใช้แสงสว่างกระจายรอบตัว  คือ ทำให้มีความสว่างทั่วบริเวณ  ดวงไฟควรอยู่ในระดับสูง และต้องให้มีรัศมีแสงสว่างของดวงหนึ่ง ๆ ทับเลยเข้าไปในรัศมีของดวงข้างเคียง  เพื่อมิให้มีพื้นที่อับแสงระหว่างรัศมีดวงไฟ
  2.3  เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยสถานที่
  เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยสถานที่  คือ  เวรรักษาความปลอดภัยประจำวัน 
  ยามรักษาการณ์  และเจ้าหน้าที่อื่น ๆ
  2.3.1  หน้าที่
  ยามรักษาการณ์มีหน้าที่ป้องกันบริเวณเขตหวงห้ามทั้งหมด  ตลอดจนวัสดุและ
  สิ่งอุปกรณ์ทั้งปวง  ทำการตรวจสอบบุคคล  ยานพาหนะ  และสิ่งของต่าง ๆ  ที่นำเข้ามา
  หรือออกไปจากอาคารสถานที่  ให้ปฏิบัติตามกฎข้อบังคับต่าง ๆ  โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับ
  การป้องกันอัคคีภัยอุบัติเหตุ  และภยันตราย  อื่น ๆ
  2.3.2  การติดต่อสื่อสาร
  ในกรณีที่มียามรักษาการณ์  ควรมีโทรศัพท์ตั้งไว้  ณ   จุดอันเหมาะสมที่สุด  
  ในเส้นทางของยามรักษาการณ์
  2.3.3  ระบบสัญญาณแจ้งภัย
  คือวิธีการใช้เครื่องมือทางเทคนิคสำหรับตรวจและแจ้งให้ทราบในเมื่อมีการ
  เข้าใกล้   หรือการล่วงล้ำเข้ามาในพื้นที่รักษาความปลอดภัย
การฝึกอบรม
เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยสถานที่  ควรได้รับการฝึกอบรมและมีความรู้
  ในเรื่องต่าง ๆ  ดังนี้ คือ
  ก.   การป้องกันการโจรกรรมและการก่อวินาศกรรม
  ข.   บริเวณสถานที่ทั้งหมด  จุดสำคัญของสถานที่  รวมทั้งที่ตั้งสวิตซ์ไฟฟ้าที่สำคัญ      เครื่องมือเครื่องใช้ในการดับเพลิง
  ค.   การติดต่อสื่อสารในหน่วยรักษาความปลอดภัย
  ง.   วิธีต่อสู้ป้องกันตัวตามความเหมาะสม
  จ.   ระบบที่ใช้สำหรับแสดงตนซึ่งสถานที่นั้นได้กำหนดไว้
  ฉ.    การใช้อาวุธ
  2.4  การควบคุมบุคคลและยานพาหนะ
  2.4.1   การควบคุมบุคคล  พึงปฏิบัติดังต่อไปนี้
        2.4.1.1    จัดให้มีบัตรผ่านสำหรับบุคคลภายใน  และภายนอก
        2.4.1.2     จัดให้มีการบันทึกหลักฐานสำหรับบุคคลภายนอก  เช่น  ผู้มาติดต่อ ,  ช่างก่อสร้าง
        2.4.1.3     จัดให้มีที่พักผู้มาติดต่อหรือเยี่ยมไว้เป็นพิเศษต่างหาก  ไม่ควรอนุญาตให้ผู้มาเยี่ยมเข้าไปยังที่ทำงาน
  2.4.2    การควบคุมยานพาหนะ  พึงปฏิบัติดังต่อไปนี้
        2.4.2.1      มีเจ้าหน้าที่ตรวจสอบยานพาหนะประจำอยู่ที่ช่องทาง เข้า – ออก  ของสถานที่ตั้ง
        2.4.2.2      ทำบันทึกหลักฐานยานพาหนะ เข้า – ออก ตามหัวข้อเหล่านี้  คือ
 
                 ก.       วันเวลาที่ยานพาหนะ เข้า – ออก
                 ข.       ชื่อคนขับและชื่อผู้โดยสาร
                 ค.       เลขทะเบียนยานพาหนะ
                  ง.        ลักษณะและจำนวนสิ่งของที่บรรทุกบนยานพาหนะที่นำเข้าและ    นำออก
                  จ.       วัตถุประสงค์และสถานที่ที่ยานพาหนะจะเข้าไป
                  ฉ.       วันและเวลาที่ยานพาหนะผ่านออก
   2.4.2.3        จัดที่จอดรถให้อยู่ห่างจากตัวอาคารที่สำคัญและ  หรือสิ่งของที่ติดเพลิงง่าย  ประมาณไม่น้อยกว่า  6  เมตร
  2.5  พื้นที่ที่มีการรักษาความปลอดภัย
  พื้นที่ที่มีการรักษาความปลอดภัย  คือ  พื้นที่ที่มีการจำกัดขอบเขตโดยแน่ชัด  ซึ่งมีข้อจำกัดและการควบคุมการเข้าออกเป็นพิเศษ  มีความมุ่งหมายเพื่อจะพิทักษ์สิ่งที่เป็นความลับ  บุคคล  ทรัพย์สินวัสดุและสิ่งอุปกรณ์  ของทางสำนักงานให้ปลอดภัย  โดยกำหนดมาตรการการรักษาความปลอดภัยในแต่ละเขต  ให้มีระดับแตกต่างกันตามความสำคัญ  การกำหนดพื้นที่ที่มีการรักษาความปลอดภัยพึงปฏิบัติดังต่อไปนี้
  2.5.1  พื้นที่ควบคุม
  2.5.2  พื้นที่หวงห้าม
  พื้นที่หวงห้ามนี้อาจแยกออกเป็น
    -         เขตหวงห้ามเฉพาะ
    -         เขตหวงห้ามเด็ดขาด
  2.6  การป้องกันอัคคีภัย
  2.6.1   การจัดเตรียมเครื่องอุปกรณ์ในการดับเพลิง
  2.6.2   การฝึกอบ
  ให้อบรมเจ้าหน้าที่ทุกคนให้มีความระมัดระวังเพื่อป้องกันอัคคีภัย  และฝึกซ้อมให้มีความรู้ความชำนาญในการดับเพลิงขั้นต้น  เจ้าหน้าที่ควรมีความรู้ในเรื่องต่าง ๆ  เหล่านี้ คือ
  2.6.2.1  ประเภทของไฟ
  2.6.2.2  เครื่องมือเครื่องใช้ในการดับเพลิง
  2.6.2.3  การติดต่อสื่อสาร  การคมนาคม  แผนผังอาคารและบริเวณโดยรอบ
  2.6.2.4  ที่ตั้งและหมายเลขโทรศัพท์ของหน่วยดับเพลิง
  ข้อห้ามและวินัยของเจ้าหน้าที่ รปภ.
  1.  ข้อห้ามต่าง ๆ  ของเจ้าหน้าที่ รปภ.
  1.1 ห้ามยืนพิงหรือยืนท้าว  ต้องยืนอย่างสง่าผ่าเผย
  1.2  ห้ามละอาวุธออกจากตัวเด็ดขาด  นอกจากได้รับคำสั่งจากผู้บังคับบัญชาเหนือตน
  1.3  ห้ามกินหรือดื่มสิ่งใด ๆ  ตลอดจนสูบบุหรี่ก็ไม่ได้
  1.4  ห้ามอ่านหรือเขียนหนังสือที่มิเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่
  1.5 ห้ามรับเงินหรือสิ่งของใด ๆ  จากผู้อื่น  แม้แต่รับฝากก็ไม่ได้
  1.6 ห้ามพูดหรือคุยกับผู้หนึ่งผู้ใด  เว้นแต่ในกิจ
  1.7 ห้ามใช้กิริยาวาจาไม่สุภาพ
  1.8 ห้ามเข้าตู้ยามเว้นแต่เวลาฝนตกว่า
  2.  ระเบียบข้อบังคับเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย
  2.1   การปฏิบัติหน้าที่ต้องมาถึงก่อนเวลาอย่างน้อย  10  นาที  เพื่อฟังการชี้แจงก่อนการปฏิบัติหน้าที่ 
  2.2   ต้องสำรวจทรัพย์สินให้เรียบร้อยก่อนรับมอบหน้าที่  ถ้ารับมอบหน้าที่แล้วปรากฏว่าทรัพย์สินในความรับผิดชอบชำรุดสูญหาย  โดยมิได้หมายเหตุไว้ในรายงานประจำวัน  ผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่ในผลัดนั้นจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบ
 
  2.3   ผู้ที่จะออกจากการปฏิบัติหน้าที่  จะต้องมีผู้มารับหน้าที่ก่อน  จึงจะออกจากจุดรับผิดชอบได้  มิฉะนั้นจะมีความผิดฐานละทิ้งหน้าที่
  2.4   ก่อนการเข้าปฏิบัติหน้าที่  และตลอดเวลาการปฏิบัติหน้าที่ต้องแต่งกายให้เรียบร้อยอยู่เสมอ
  2.5 .ให้รายงานเหตุการณ์ทุกครั้ง  เมื่อผู้บังคับบัญชาไปตรวจ
  2.6  เมื่อมีเหตุการณ์เกิดขึ้นต้องรายงานด่วนทางโทรศัพท์เข้าบริษัท  หรือผู้บังคับบัญชาคนใดคนหนึ่ง
  2.7  ต้องแสดงความเคารพต่อผู้บังคับบัญชาทุกครั้งที่พบเห็น
  2.8 ห้ามดื่มสุราในขณะปฏิบัติหน้าที่  หรือก่อนการปฏิบัติหน้าที่โดยเด็ดขาด  ทั้งนี้รวมถึง   เครื่องดองของเมาชนิดอื่น ๆ ด้วย
  2.9 ห้ามเล่นการพนันในเขตรับผิดชอบของบริษัท  โดยเด็ดขาด
  2.10 ห้ามนำบุคคลภายนอกเข้ามาในเขตรับผิดชอบของบริษัท
  2.11 ห้ามรับสิ่งของตอบแทนหรือของกำนัลใด ๆ จากพนักงานหรือคนงานในบริษัท  หรือ โรงงานที่ตนปฏิบัติหน้าที่อยู่  เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น 
  2.12 ต้องช่วยกันรักษาความสะอาด  ความเป็นระเบียบเรียบร้อยในบริเวณที่ทำงาน  หรือที่พักของทางบริษัทจัดให้
  2.13 การปฏิบัติหน้าที่แทนกัน  ให้แจ้งล่วงหน้าอย่างน้อย  3 วันต่อหัวหน้าหน่วย  เมื่อได้รับอนุมัติแล้วจึงปฏิบัติหน้าที่แทนกันได้
  การรายงานและการแจ้งเหตุ
  1.  ความมุ่งหมาย
  เพื่อให้เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยมีความรู้ในเรื่อง  การรายงานเหตุการณ์และการแจ้งเหตุที่เกิดขึ้นให้ผู้บังคับบัญชาหรือผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบ  เพื่อพิจารณาสั่งการในทางปฏิบัติต่อไป
  2.  การรายงานแบ่งออกเป็น  2  ประเภท
  2.1     การรายงานปกติ
  2.2     การรายงานด่วน
     การรายงานทั้ง  2  ประเภท  ให้รายงานอย่างสั้น ๆ แต่ได้ความชัดเจน  ใคร  ทำอะไร  ที่ไหน  เมื่อไหร่  อย่างไร 
  3.  การแจ้งเหตุ
              เมื่อมีเหตุการณ์เกิดขึ้น เช่น การลักทรัพย์ การชิงทรัพย์ การก่อเหตุร้ายของกลุ่มบุคคล เพลิงไหม้ ฯลฯ ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของ    เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย  ให้รีบแจ้งเหตุนั้นไป  ยังสถานีตำรวจท้องที่ หรือศูนย์ต่างๆ พร้อมกับโทรศัพท์แจ้งเหตุไปยังห้างหุ้นส่วนจำกัดอัพ ซีเคียวริตี้ การ์ด
  4.  การใช้และรับโทรศัพท์
  4.1     การพูดตามระเบียบเมื่อรับโทรศัพท์
  สวัสดีครับ  ที่นี่หน่วยรักษาความปลอดภัยอัพ ซีเคียวริตี้ การ์ด  ผมนาย ซื่อสัตย์   สุจริต  พูดครับ ถ้าจำเป็นต้องตามผู้รับสาย  ควรใช้คำว่ากรุณารอสักครู่ครับ
  4.2     การบันทึกทางโทรศัพท์
  การปฏิบัติ   มือซ้ายถือปากพูดหูฟัง  มือขวาเตรียมการบันทึก  ( ในกรณีผู้ที่ถนัดมือขวา )
  การบันทึก             ชื่อ  ตำแหน่ง  ผู้โทร
                 ข้อความที่ส่ง
                 เวลาที่รับโทรศัพท์
                 ชื่อตำแหน่งผู้รับ
  หมายเหตุ   การจดบันทึกต้องให้ละเอียด  คำต่อคำ
  การจับกุมและตรวจค้น
  1. การจับกุม
  การจับกุม   คือ   การที่เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง  หรือตำรวจ  หรือเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยใช้อำนาจหน้าที่ตามกฎหมายจับกุมผู้กระทำความผิด    หรือสงสัยว่ากระทำความผิดในคดีอาญามาตรา  79   ราษฎรจะจับผู้อื่นไม่ได้  เว้นแต่จะเข้าอยู่ในเกณฑ์แห่งมาตรา  82  หรือผู้นั้น
 
กระทำความผิดซึ่งหน้า        
มาตรา  80  ที่เรียกว่าความผิดซึ่งหน้านั้น  ได้แก่ความผิดซึ่งเห็นกำลังกระทำหรือพบในอาคารใด  ซึ่งแทบจะไม่มีความสงสัยเลยว่าเขาได้กระทำความผิดมาแล้วสด ๆ ร้อน ๆ
  1.  เมื่อบุคคลหนึ่งถูกไล่จับดั่งผู้กระทำผิดโดยมีเสียงร้องเอะอะ
  2.  เมื่อพบบุคคลหนึ่งแทบจะทันทีทันใด  หลังจากการกระทำผิดในถิ่นแถวใกล้เคียงกับที่เกิดเหตุนั้น
และมีสิ่งของที่ได้มาจากการกระทำผิด  หรือมีเครื่องมือ  อาวุธ  หรือวัตถุอย่างอื่นอันสัณนิษฐานได้ว่า  ได้ใช้ในการกระทำผิดหรือมีร่องรอยพิรุธเห็นประจักษ์ที่เสื้อผ้าหรือเนื้อตัวของผู้นั้น
  2.  การตรวจค้น
  บุคคลและสถานที่  เพื่อ
     -  หาพยานหลักฐาน
     -  จับตัวบุคคลที่ต้องการ
     -  จับยึดสิ่งของที่ใช้ในการกระทำผิด  หรือได้มาโดยการกระทำความผิดหรือมีไว้เป็นความผิด
  -  ช่วยบุคคลที่ถูกหน่วงเหนี่ยวกังขัง  หรือควบคุมไว้โดยมิชอบด้วยกฎหมาย  การค้นนั้นจักต้องทำโดยสุภาพ  ถ้าค้นผู้หญิงต้องให้ผู้หญิงอื่นเป็นผู้ค้น สิ่งของใดที่ยึดไว้  มีอำนาจยึดไว้จนกว่าคดีถึงที่สุด
  3.  ลำดับความสำคัญในการตรวจค้น
  -  อาวุธ  วัตถุระเบิด
  -  เอกสารทรัพย์สิน
  -  แยกผู้ต้องสงสัยอย่าให้อยู่รวมกัน
  -  ห้ามพูดหรือคุยกัน
  -  ควบคุมโดยแข็งแรง
  การป้องกันอัคคีภัย
  1.  องค์ประกอบของไฟ
  1.1     เชื้อเพลิง
  1.2     ความร้อน  ( อุณหภูมิ )
  1.3     อ๊อกซิเจน
  2.  ประเภทของไฟ
  2.1  เพลิงประเภท  ก.  สัญลักษณ์  A
  ได้แก่เพลิงที่ไหม้  ไม้  กระดาษ  ผ้า  ฯ ล ฯ  การดับต้องการความเย็น 
  ความเปียกชื้น  คือ  ดับด้วยน้ำ  โซดากรด  ฟองเคมีหรือฟองกล
  2.2  เพลิงประเภท  ข.  สัญลักษณ์  B
 ได้แก่เพลิงที่ไหม้น้ำมัน  หรือของเหลวไวไฟต่าง ๆ  การดับต้องการการครอบคลุมเพลิงคือ ป้องกันไม่ให้อ๊อกซิเจนไปช่วยให้ไฟติด  ซึ่งได้แก่  FOAM ,  CARONDIOXIDE   หรือ ผงเคมีแห้ง  DRY CHEMICAL
  3.3  เพลิงประเภท  ค.  สัญลักษณ์  C
 ได้แก่เพลิงที่ไหม้อุปกรณ์ไฟฟ้า  การดับต้องใช้สารดับเพลิงที่ไม่เป็นสื่อไฟฟ้า  ซึ่งได้แก่    
  CARBONDIOXIDE , DRY CHEMICAL  
 
 
 
 
 
ตารางการใช้เครื่องดับเพลิง
ประเภทของเชื้อเพลิง คาร์บอนไดอ๊อกไซด์ เคมีแห้ง โฟม น้ำหรือโซดา หมายเหตุกรด
ก.  ไม้ , กระดาษ เพลิงขนาดเล็ก เพลิงขนาดเล็ก ดีมาก ดีมาก  
ข.  น้ำมัน ดีมาก ดีมาก ดีมาก ห้ามใช้  
ค.  ไฟฟ้า ดีมาก ดีมาก ห้ามใช้ ห้ามใช้  
 
  4.  การป้องกันการระเบิดและเพลิงไหม้
  4.1     ต้องไม่กองขยะ  เศษกระดาษ  เศษผ้า  หรือเศษทิ้งไว้  ควรจะเก็บทิ้งในถังขยะหรือที่รองรับที่ทำไว้เฉพาะ  ก้นบุหรี่ควรทิ้งบนที่เขี่ยบุหรี่  อย่าทิ้งลงในถังขยะ  หรือบนพื้น
  4.2     น้ำยาหรือน้ำมันที่ลุกติดไฟต่างๆ จะต้องเก็บในภาชนะที่มิดชิดโดยปลอดภัยและมีป้ายเขียนไว้
  4.3     น้ำมันวานิช สีพ่น  แล็กเกอร์  หรือทินเนอร์  ล้วนแต่ไวไฟ  จึงจำเป็นต้องเก็บไว้ให้ห่างจาก เปลวไฟ  หรือประกายไฟ  หรือในที่ที่มีบรรยายกาศร้อนจัด  ในขณะที่มีการพ่นสีพ่นวานิช  หรือพ่นแล็กเกอร์ก็ตาม  ห้ามสูบบุหรี่  ตัดเชื่อม  หรือก่อเปลวไฟในบริเวณโดยรอบ
  4.4     ห้ามการจุดไม้ขีดหรือสูบบุหรี่โดยเด็ดขาดในบริเวณที่มีแก๊สไวไฟ  หรือน้ำมันไวไฟต่าง ๆ เก็บอยู่หรือกำลังใช้อยู่  บริเวณเหล่านี้จะต้องมีป้ายเตือนอันตรายแขวนไว้ให้เห็นโดยเด่นชัด
  4.5     ผู้ปฏิบัติงานทุกคนจะต้องรู้ที่ตั้งและวิธีใช้เครื่องดับเพลิง  แต่ละชนิดในเขตปฏิบัติงาน
  อำนาจและหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย
  1.  ความมุ่งหมาย
 เพื่อให้เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย  ได้มีความรู้และเข้าใจถึงอำนาจและหน้าที่ของพนักงานรักษาความปลอดภัยว่า  มีอำนาจและหน้าที่แค่ไหนและเพียงใด  เพื่อมิให้เกิดความผิดพลาดในการปฏิบัติหน้าที่
  2.  อำนาจ
                ในที่นี้หมายถึงอำนาจในการจับกุมและตรวจค้น  ( บุคคลและยานพาหนะ )  เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยมิใช้เจ้าพนักงานตามกฎหมาย  แต่มีอำนาจจับกุมและตรวจค้นได้ในกรณีที่เป็นความผิดซึ่งหน้า  ซึ่งเมื่อดำเนินการจับกุมแล้วจะต้องติดต่อให้  เจ้าพนักงานตำรวจท้องที่มารับตัวไปดำเนินการ
  3.  หน้าทีของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย
  เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยมีหน้าที่สำคัญอยู่  8  ข้อ คือ
  3.1     ตรวจตราดูแลอาคารสถานที่ ๆ  ได้รับมอบหมายโดยใช้ยามประจำที่หรือสายตรวจ
  3.2     ควบคุมดูแลช่องทางเข้าออกของบุคคลและยานพาหนะโดยวิธีการติดบัตรหรือเปลี่ยนบัตร
  3.3     จัดหรือชี้แนะให้ยานพาหนะได้เข้าจอดตามที่ ๆ  กำหนดไว้อย่างเป็นระเบียบ
  3.4     ให้ความปลอดภัยต่อการประทาร้ายต่อทรัพย์สินและบุคคลในความรับผิดชอบ
  3.5     สังเกตุและตรวจตราต่อความผิดปกติของ  หีบ  ห่อ  หรือสิ่งของที่วางไว้โดยปราศจากการดูแลหรือเป็นเจ้าของ  ( ให้ความสงสัยว่าอาจเป็นวัตถุระเบิด
  3.6     อำนวยความสะดวกแก่ยานพาหนะของบริษัทหรือผู้มาติดต่อมิให้เกิดอุบัติเหตุ
  3.7     ติดต่อบุคคลที่ผู้มาติดต่อต้องการพบให้มาพบตามที่ ๆ กำหนดไว้
  3.8     ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชา
  การจัดการจราจรและที่จอดรถ
  1.  ความมุ่งหมาย
  เพื่อให้เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย  ได้มีความรู้และความเข้าใจในเรื่องสัญญาณจราจร  เครื่องหมายจราจร  การจัดการจราจรและที่จอดรถภายในพื้นที่ ๆ รับผิดชอบ
 
  2.  การจัดการจราจร
ต้องเข้าใจว่าเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยไม่ใช้เจ้าพนักงานตามกฎหมาย  จะออกไปจัดการจราจรในท้องถนนไม่ได้  มีอำนาจและหน้าที่จัดการจราจรอยู่ในขอบเขตพื้นที่ ๆ  รับผิดชอบเท่านั้น  โดยจัดให้ยานพาหนะได้ปฏิบัติตามระเบียบและป้ายเครื่องหมายจราจรตามที่ได้กำหนดในแต่ละจุด
  3.  สัญญาณที่ใช้ในการจราจร
  3.1  สัญญาณที่ใช้ในการจราจร   มี  3  ประเภท  คือ
  3.1.1   สัญญาณมือ  ได้แก่  การห้ามและให้ยานพาหนะผ่านไปได้โดยใช้มือ  เป็นเครื่องให้สัญญาณ
  3.1.2   สัญญาณเสียง  ได้แก่  การห้ามและให้ยานพาหนะผ่านไปได้โดยใช้เสียง  เครื่องให้สัญญาณ  เช่น  นกหวีด  ส่วนมากจะใช้ประกอบกับสัญญาณมือ
  3.1.3   สัญญาณไฟ  ได้แก่การห้ามและให้ยานพาหนะผ่านไปได้โดยใช้ไฟฉายหรือไฟสีเป็นเครื่องให้สัญญาณ
  4.  ข้อควรระวังในการให้สัญญาณจราจร
  ก่อนจะให้สัญญาณใด ๆ  ก็ตามจะต้องแน่ใจว่าผู้รับสัญญาณสามารถปฏิบัติตามได้
  5.  ที่จอดรถ
เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยต้องจัดให้ยานพาหนะที่เข้ามาในบริเวณพื้นที่รับผิดชอบ  ให้เข้าจอดตามที่ ๆ กำหนดไว้อย่างเป็นระเบียบ
โดยให้เหมาะกับพื้นที่และสถานการณ์
  6.  แบบของการจอดรถ  3  แบบ  คือ
  6.1  การจอดรถขนานกับขอบทาง  การจอดรถแบบนี้ใช้กับพื้นที่ ๆ มีผิวการจราจรแคบ  เมื่อจอดรถข้างใดข้างหนึ่งของขอบทางแล้ว  ยานพาหนะที่จอดไม่เกะกะกีดขวางการจราจร  โดยยังเหลือที่ให้ยานพาหนะสามารถแล่นผ่านไปได้  และการจอดรถต้องเว้นระยะห่างกันพอสมควร 
  6.2     การจอดทำมุม  45o   เป็นแบบของการจอดรถที่นิยมใช้กันมากที่สุด  สะดวกในการนำรุเข้าออก  บรรจุยานพาหนะเข้าไปได้มากกว่าแบบขนานกับขอบทาง  แต่ต้องมีพื้นที่จอดมากกว่า  โดยให้จอดทำมุมกับขอบทาง  45o  
  6.3     การจอดทำมุม  90o   เป็นแบบของการจอดรถที่ต้องการให้ได้จำนวนมากที่สุดแต่ต้องมีพื้นที่การจอดมากกว่า  2  แบบแรก 
  หมายเหตุ
                สิ่งที่ต้องคำนึงมากที่สุดในการจัดการจราจรและที่จอดรถ คือ  ความปลอดภัย  การกำหนดให้พื้นที่ใดใช้การจอดรถแบบไหน  หรือจัดผสมกันทั้ง  3  แบบ  ย่อมขึ้นกับพื้นที่และความต้องการบรรจุรถมากแค่ไหนเป็นสำคัญ  ในกรณีที่จัดให้รถจอดซ้อนค้น  ที่ซ้อนต้องให้ปลดเกียร์ว่างและไม่ดึงเบรคมือ  เพื่อสะดวกในการเลื่อนให้รถด้านใน  เข้า - ออกได้สะดวก
  การประชาสัมพันธ์ , การปรากฏกาย ,  บุคลิกและมารยาทของพนักงานรักษาความปลอดภัย
  1.  ความมุ่งหมาย
                เพื่อให้พนักงานรักษาความปลอดภัยมีการปฏิบัติที่ถูกต้องในการใช้ถ้อยคำ  การให้รายละเอียดการแต่งกาย  ลักษณะท่าทาง  ตลอดจนการใช้มารยาทที่สมควร  อันเป็นผลที่จะสร้างความราบรื่น  กับกลุ่มที่เกี่ยวข้อง
  2.  หลักของการประชาสัมพันธ์
  การประชาสัมพันธ์มีหลักอยู่  2  ประการ คือ
  2.1     บอกกล่าวหรือเผยแพร่ข่าวสารจากองค์การให้ทราบ  เพื่อป้องกันและแก้ความเข้าใจผิดและเรียกร้องการสนับสนุนร่วมมือ
  2.2     จัดกระแสความคิดเห็นหรือนำข้อคิดเห็นที่มีต่อองค์การ  เพื่อให้หน่วยเหนือขององค์การทราบ
  3.  บุคลิกภาพและมารยาทที่ใช้ในการติดต่อกับประชาชน
  3.1     การแต่งกาย  เป็นสิ่งแรกที่จะทำให้เกิดความรู้สึกนิยมหรือรังเกียจ  จากผู้พบเห็น  ต้องแต่งกายสะอาด  เป็นระเบียบเรียบร้อย  ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ของบริษัท 
  3.2     สุขภาพและความสะอาดของร่างกาย  ต้องมีร่างกายที่แข็งแรงและอดทนต่อการปฏิบัติหน้าที่
  3.3     ลักษณะท่าทาง  ต้องสง่าผ่าเผย  ไม่ว่าจะเป็นการยืน  เดินหรือนั่ง
  3.4     การพูดจากับผู้มาติดต่อ  ความสำคัญของการพูดนี้มีมาก  ใช้เสียงให้ดังพอประมาณ  ถ้อยคำที่ใช้ต้องสุภาพ  พูดแต่สิ่งที่รู้
  1.  ความมุ่งหมาย
                เพื่อให้เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยได้รู้ถึงการปฏิบัติที่ถูกต้องในการรักษาความปลอดภัยต่อด่านแรกของพื้นที่ ๆ ต้องรับผิดชอบ คือ  ช่องทาง  เข้า – ออก  ซึ่งตามปกติช่องทาง เข้า – ออก  จะพลุกพล่านไปด้วยบุคคลและยานพาหนะ
  2.  การปฏิบัติสำหรับบุคคลภายใน  ( พนักงาน ) ในการผ่าน  เข้า - ออก
                ตามปกติหน่วยงานต่างๆจะออกบัตรประจำตัวของพนักงานให้ไว้แก่พนักงานทุกคนให้กระทำได้โดยกำหนดให้ติดบัตรตลอดเวลาที่อยู่ภายในเขตพื้นที่หรืออีกอย่างหนึ่งด้วยการเปลี่ยนบัตร โดยให้พนักงานนำบัตรประจำตัวประชาชนมาเปลี่ยนเป็นบัตร สำหรับพนักงานเพื่อใช้ในการผ่านเข้าและเปลี่ยนบัตรกลับคืนเมื่อผ่านออกซึ่งวิธีการทั้งอย่างนี้เป็นการควบคุมบุคคลได้ดีมากเป็นที่นิยมโดยทั่วไป
  3.  การปฏิบัติสำหรับบุคคลภายนอก  ( ผู้มาติกต่อ )  ในการผ่าน เข้า -ออก
                โดยทั่วไปกำหนดวิธีการเพียงอย่างเดียว คือ  การเปลี่ยนบัตร  โดยจดลงสมุดบันทึกสำหรับผู้มาติดต่อลง  วัน  เวลา  ชื่อบุคคลที่มาติดต่อด้วย   แล้วเปลี่ยนเป็นบัตรผ่านให้ผ่านเข้าไปได้เมื่อกลับออกมาจึงลงเวลาที่กลับแล้วเปลี่ยนบัตรคืนให้
  4.  การปฏิบัติสำหรับยานพาหนะบุคคลภายใน  ( พนักงาน )  ในการผ่าน เข้า - ออก
                ตามปกติยานพาหนะของพนักงานหรือของบริษัทจะมีบัตรติดรถใช้ผ่าน เข้า – ออก  ติดอยู่ที่กระจกด้านหน้าสังเกตุเห็นได้ง่ายอยู่แล้ว  ถ้าไม่มีเหตุอันควรสงสัยให้ผ่าน เข้า - ออกได้เลย
  5.  การปฏิบัติสำหรับยานพาหนะบุคคลภายนอก (ผู้มาติดต่อ)  ในการผ่าน เข้า - ออก
                กำหนดวิธีการโดยการเปลี่ยนบัตร  และลงหลักฐานในสมุดบันทึก  วัน เวลา  หมายเลขทะเบียนรถ  ชื่อสกุล  เข้ามาพบใคร  เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยจะต้องชี้แจงให้นำยานพาหนะเข้าจอดตามที่ ๆ กำหนดให้  และเปลี่ยนบัตรคืนพร้อมกับลงเวลากลับเมื่อผู้มาติดต่อกลับออกมา
  หมายเหตุ
  การปฏิบัติทุกขั้นตอนให้ทำด้วยความสุภาพ  นุ่มนวล
  กฎหมายที่เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยควรรู้
  1.  ความมุ่งหมาย
                เพื่อให้เจ้าหน้าที่ที่รักษาความปลอดภัยได้มีความรู้ในกฎหมายสำคัญที่จะต้องใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างถูกต้อง  ให้เข้าใจว่าเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยไม่ใช่เจ้าพนักงานตามกฎหมาย  ฉะนั้นต้องรู้ว่ามีอำนาจในการปฏิบัติต่อผู้ฝ่าฝืน  หรือกระทำผิดในเขตที่รับผิดชอบได้แค่ไหน
  2.  เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยจะปฏิบัติการตามกฎหมายได้ใน  2  กรณี  คือ
  2.1     เมื่อได้รับการร้องขอจากเจ้าพนักงานตำรวจ
  2.2     เมื่อความผิดนั้นเป็นความผิดซึ่งหน้า
  3.  ความผิดซึ่งหน้า
  3.1     ลักทรัพย์
  3.2     วิ่งราวทรัพย์
  3.3     ปล้นทรัพย์
  3.4     กรรโชกทรัพย์
  3.5     ข่มขืนกระทำชำเรา
  3.6     ประทุษร้ายแก่ชีวิต
  3.7     ประทุษร้ายแก่ร่างกาย
  3.8     กระทำให้เสื่อมเสียอิสระภาพ ฯลฯ
 
 
 
 4.  ความผิดดังที่กล่าวมาในข้อ 3.  ได้พบในลักษณะอาการ  2  อย่าง คือ
  4.1     พบขณะถูกไล่จับดั่งผู้กระทำความผิดโดยมีเสียงร้องเอะอะ
  4.2     พบแทบจะทันทีทันใดหลังจากกระทำผิดในถิ่นแถวใกล้เคียงกับที่เกิดเหตุและมี
  4.2.1   สิ่งของที่ได้มาจากการกระทำผิด
  4.2.2  \ เครื่องมือเครื่องใช้  อาวุธ  หรือวัตถุอย่างอื่นอันสันนิษฐานได้ว่าใช้ในการกระทำผิด  ทั้ง  2  ลักษณะนี้  คือความผิดซึ่งหน้า
                                  จึงเรียนมาเพื่อทราบ